ประวัติพระสังกัจจายน์ อรหันต์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และเคล็ดลับการบูชา

ประวัติพระสังกัจจายน์

ณ ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค ชั้น 1 แห่งนี้เป็นที่ตั้งของร้าน VANDA’S Jewelry ที่อยู่มานานเกือบ 2 ทศวรรษ ซึ่งเป็นศูนย์รวมเครื่องประดับ งานศิลปะอันงดงาม รวมถึงพระเครื่องวัตถุมงคลที่โด่งดังระดับประเทศถูกนำมาจัดแสดงไว้ที่นี่ ในทุกๆ วันผู้คนมากมายต่างแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมเยือนกันอยู่ไม่ขาดสาย แต่ใครจะรู้ว่าในจิวเวลรี่แห่งนี้ มีรูปปั้นองค์พระอยู่ 2 องค์ขนาบข้างประตูทางเข้าร้าน ที่เป็นจุดสนใจทำให้ผู้ที่มาแวะเวียนเยี่ยมชมต่างเข้าไปร่วมเฟรมถ่ายรูป

เหมือนเป็นแลนด์มาร์คที่ใครได้มาที่ช้อป VANDA’S แห่งนี้ควรค่าแก่การเก็บภาพความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ “พระสังกัจจายน์” หลวงพ่อเนื่อง แห่งวัดจุฬามณี เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวความมงคลแห่งทรัพย์ เคล็ดลับความสำเร็จ ศูนย์รวมจิตใจให้กับผู้ที่มาอ่านบทความนี้ได้รับความรู้ไปพร้อมๆ กัน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้กับประวัติความเป็นมาของพระสังกัจจายน์เบื้องต้นกันก่อน

พระสังกัจจายน์ หรือพระมหากัจจายน์ เป็นคำไทยที่มีรากศัพย์มาจากภาษาบาลีว่า มหากจฺจายน และภาษาสันสกฤตว่า มหากาตฺยายน ว่ากันว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระอสีติมหาสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ

พระมหากัจจายนะ ตามประวัติเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในกรุงอุชเชนี ได้ศึกษาพระเวทตามอย่างตระกูลพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นศิษย์ของอสิตดาบสแห่งเขาวินธัย (ผู้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธิตถะจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือพระพุทธเจ้าในอนาคต) พระมหากัจจายนะพร้อมด้วยมิตรอีก 7 คนได้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมเทศนา และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในระหว่างฟังธรรมนั้นเอง หลังจากนั้นท่านจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า และได้เผยแผ่ศาสนาพุทธอยู่ในแคว้นอวันตีจนมีผู้เข้ามาเป็นสาวกในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก

จากประวัติทำให้มีผู้คนศรัทธาในพระสังกัจจายน์เป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่อดีตสมัยก่อนพุทธกาลตราบจนถึงปัจจุบัน ก็ยิ่งมีผู้คนศรัทธาเพิ่มมากขึ้น และมีการจัดสร้างวัตถุมงคล พระเครื่อง รูปปั้น ตามพระอารามต่างๆ ให้คนได้สักการะบูชา รวมถึงประเทศไทย ในสถานที่แห่งนี้ “วัดจุฬามณี” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพระอารามที่ขึ้นชื่อเรื่องการจัดสร้างรูปปั้นวัตถุมงคลเป็นปฐม

กลับสู่สารบัญ

ประวัติวัดจุฬามณี

เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดแม่เจ้าทิพย์ สร้างมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2172–2190 ตามประวัติว่าท่านท้าวแก้วผลึก (น้อย) ธิดาคนหนึ่งของท่านพลาย ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด ต้นวงศ์ราชนิกูลบางช้าง เป็นผู้สร้างวัดจุฬามณีแห่งนี้ขึ้นมา

ในช่วงสงครามกรุงศรีอยุธยากับพม่า ท่านนาค (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) พระอัครชายาเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงครรภ์แก่ ได้หลบซ่อนพม่าอยู่ในป่าทึบหลังวัดจุฬามณี ต่อมาได้มีประสูติการท่านฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) คาดว่าสถานที่ประสูติน่าจะใกล้ต้นจันทน์อันเป็นนิวาสถานหลังเก่าของท่านเศรษฐีทอง

อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) พระพี่นางองค์ที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้หลบภัยพม่ามาอาศัยอยู่กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชด้วย กำลังอยู่ในระหว่างทรงพระครรภ์แก่ และได้มีพระประสูติการพระธิดาในป่าหลังวัดจุฬามณีด้วยเช่นกัน คือสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

วัดจุฬามณีเคยรุ่งเรืองในสมัยท่านพระอธิการเนียมเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ท่านตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทย และหนังสือขอมขึ้นในวัดจุฬามณี เมื่อสิ้นท่านไปเสียแล้วในราวปี พ.ศ.2459 วัดอยู่ในสภาพเกือบเป็นวัดร้าง มีพระจำพรรษาอยู่เพียงไม่กี่รูป จนวัดเสื่อมสภาพทรุดโทรมปรักหักพังเสียเป็นส่วนใหญ่ กำนันตำบลปากง่าม (ปัจจุบันคือตำบลบางช้าง) ขออาราธนาพระอาจารย์แช่ม โสฬส ซึ่งเป็นพระลูกวัดจำพรรษาอยู่ในวัดบางกะพ้อม มาปกครองวัดให้เจริญรุ่งเรือง

ในสมัยหลวงพ่อแช่ม ท่านได้ริเริ่มปลูกสร้างเสนาสนะสงฆ์ และสร้างศาลาการเปรียญจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ.2463 หลังจากนั้นพระเนื่อง โกวิโท ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป ซึ่งต่อมาก็คือพระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง โกวิโท) จนเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2510 หลวงพ่อเนื่องสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่เสื่อมโทรม ต่อจากนั้นพระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจุฬามณีด้วยวัยเพียง 32 ปี ท่านได้สร้างอุโบสถของหลวงพ่อเนื่องที่ยังค้างอยู่ ปูพื้นอุโบสถชั้นบนสุดที่ยังค้างอยู่ด้วยหินหยก จากการาจี ประเทศปากีสถาน จนแล้วเสร็จ

นอกจากนี้วัดจุฬามณี ยังขึ้นชื่อเรื่องรูปปั้นพระมงคลต่างๆ ที่มีความสวยงาม และโดดเด่นเรื่องงานศิลปะที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่รู้จักของเหล่าพุทธศาสนิกชน และผู้ที่มาเยี่ยมเยือนเป็นอย่างมาก ภายในวัดหากผู้ใดได้มีโอกาสไปจะเห็นรูปปั้นพระมงคลที่หลากหลาย รวมถึงพระสังกัจจายน์ที่ VANDA’S ได้นิมนต์นำมาประดิษฐานเพื่อเป็นความสิริมงคล แก่ร้านเรียกทรัพย์ และเป็นงานศิลปะที่ควรค่าแก่การเก็บรักษาเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้หลายคนคงสงสัยว่า เพราะเหตุใด พระสังกัจจายน์ ทั้ง 2 องค์หน้าร้าน ถึงต้องมาจากวัดจุฬามณี วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

เนื่องด้วย VANDA’S เป็นร้านเครื่องประดับที่ชื่นชอบในงานศิลปะในทุกๆ แขนง ดังนั้นการนำองค์พระ รูปปั้นต่างต่างที่เราชื่นชอบจะมีเอกลักษณ์งานศิลที่มีความโดดเด่น และไม่เหมือนใคร

ดังเช่นพระสังกัจจายน์ ทั้ง 2 องค์นี้ ที่อยู่หน้าร้าน เรียกได้ว่าเป็นองค์พระสังกัจจายน์ที่มีลักษณะเพียบพร้อม และสวยสมบูรณ์ไร้ที่ติ

กลับสู่สารบัญ

ลักษณะเฉพาะขององค์พระสังกัจจายน์ ทั้ง 2 องค์นี้

เปรียบดั่งองค์พระแฝด เดิมเป็นเนื้อโลหะ ที่หล่อออกมาได้อย่างงดงามที่สุด เท่าที่เคยมีมา พุงอ้วนท้วน อุดมสมบูรณ์ พระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง ถือถุงทอง ซื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ในด้านทัพย์สิน และด้วยแรงศรัทธา เราจึงถวายการปิดทองคำแท้ เพื่อเป็นการสักการะดูชาให้กับองคืพระทั้ง 2 เพื่อให้เป็นมิ่งขวัญ และความสิริมงคลแก่ผู้ที่พบเห็นทั่วทุกคน

โดยว่ากันว่า ชาวพุทธกราบไหว้สักการบูชาพระสังกัจจายน์เพื่อให้บังเกิดความเป็นสิริมงคล 3 ประการแก่ตนเอง และครอบครัว ดังนี้

  1. โชคลาภ และความอุดมสมบูรณ์ พระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องให้เป็นพระผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ และลาภสักการะเสมอด้วยพระสิวลี
  2. สติปัญญา เนื่องเพราะพระสังกัจจายน์ ได้รับการยกย่องจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเป็นเลิศในทางอธิบายความพุทธภาษิต ท่านเป็นอรหันต์ผู้มีปฎิภาณเฉียบแหลม
  3. ความงาม และความมีเสน่ห์ เนื่องจากเพราะก่อนที่ท่านจะอธิษฐานจิตให้รูปร่างเปลี่ยนแปลง พระสังกัจจายน์มีผิวดั่งทองคำ และมีรูปงามละม้ายเหมือนพระพุทธเจ้า จนแม้แต่เทพยดา พรหม มนุษย์ทั้งปวงพากันรักใคร่ชื่นชม

คาถาบูชา “พระสังกัจจายน์”

กัจจานะจะมหาเถโร พทุโธ ทุธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง พุทธะตังสะมะนุ ปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปัน นานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ

เคล็บลับการบูชา “พระสังกัจจายน์”

  • จุดธูป 3 ดอก
  • ดอกไม้สีขาว หรือดอกบัว 7 ดอก
  • บูชา 2 เวลา คือตอนเช้า และก่อนนอน
  • เชื่อว่าหากปิดทองที่ท้องของ “พระสังกัจจายน์” จะทำให้มีเงินทองไหลมาเทมา
  • ขณะอธิษฐานขอพร ให้ใช้มือขวาลูบที่ท้องของพระสังกัจจายน์เป็นวงกลม หมุนตามเข็มนาฬิกา เชื่อว่าพรที่ขอนั้นจะได้ดังหวัง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า