Thai Ingenuity in Art ภูมิปัญญาไทยในงานศิลป์ทองคำ จากกรุวัดราชบูรณะ

Thai Ingenuity in Art

ภูมิปัญญาไทยในงานศิลป์ทองคำ จากกรุวัดราชบูรณะ

กรองศอ… ธำมรงค์… พาหุรัด… สังวาลและทับทรวง… 

เครื่องประดับทองคำโบราณหรือเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาที่เราจะพาไปสำรวจกันในวันนี้ หลายคนอาจจะพอรู้จักหน้าค่าตาหรือเคยได้ยินกันมาบ้าง เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ของเครื่องประดับทองคำสุดอลังการข้างต้นที่เราเอ่ยถึง หรือหากใครที่ไม่รู้จักก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะ VANDA’S จะพาทุกคนไปยลเสน่ห์งานหัตถศิลป์ทองคำหายากจากกรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กันแบบเจาะลึกถึงก้นกรุกันเลยทีเดียว!

“เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ” เป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ ถือเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีความวิจิตรยิ่ง แม้เครื่องประดับทองคำส่วนใหญ่จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวและคุณค่าอันยิ่งใหญ่ (รวมถึงมูลค่าอันมหาศาลด้วย) ที่ไม่เพียงแต่บ่งบอกความสามารถอันสูงส่งของช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ความมั่งคั่งของพระเจ้าแผ่นดิน และสภาพสังคมในสมัยอยุธยาอันยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองได้เป็นอย่างดี 

ลวดลายและเทคนิค จากช่างทองหัตถศิลป์ผู้ชำนาญ

เครื่องประดับทองคำโบราณหรือเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาที่เราจะพาไปสำรวจกันในวันนี้ หลายคนอาจจะพอรู้จักหน้าค่าตาหรือเคยได้ยินกันมาบ้าง เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ของเครื่องประดับทองคำสุดอลังการข้างต้นที่เราเอ่ยถึง หรือหากใครที่ไม่รู้จักก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะ VANDA’S จะพาทุกคนไปยลเสน่ห์งานหัตถศิลป์ทองคำหายากจากกรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กันแบบเจาะลึกถึงก้นกรุกันเลยทีเดียว!

“เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ” เป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ ถือเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีความวิจิตรยิ่ง แม้เครื่องประดับทองคำส่วนใหญ่จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวและคุณค่าอันยิ่งใหญ่ (รวมถึงมูลค่าอันมหาศาลด้วย) ที่ไม่เพียงแต่บ่งบอกความสามารถอันสูงส่งของช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ความมั่งคั่งของพระเจ้าแผ่นดิน และสภาพสังคมในสมัยอยุธยาอันยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองได้เป็นอย่างดี 

ส่วนเทคนิคที่นิยมใช้ในการผลิตเครื่องประดับทองคำคือ การเชื่อมเส้นทองคำให้ติดกับแผ่นระนาบรองรับ สร้างลวดลายด้วยเส้น และใช้อัญมณีฝังให้เป็นจุดเด่น นอกจากนี้ ยังพบวิธีหล่อ วิธีดุนและทุบเคาะให้เป็นรูปทรง โดยสิ่งสำคัญของเครื่องประดับสมัยอยุธยานั้นอยู่ที่ความประณีตของฝีมือช่างที่สามารถเชื่อมต่อประกอบงานชิ้นเล็กได้อย่างละเอียด ดังที่ นิโกลาส์ แชร์แวส (Nicolas Gervaise) นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในสยามได้บันทึกไว้ว่า 

“ช่างทองรูปพรรณของประเทศสยามฝีมือดีเท่า ๆ กับของเราเหมือนกัน เขาทำเครื่องทอง เงินรูปพรรณได้หลายพันแบบ ล้วนแต่งาม ๆ ทั้งนั้น การฝังเงิน ทองคำ ทำได้สะอาดสะอ้าน และสอดเส้นไปอย่างวิเศษ เขาใช้น้ำยาประสานทองคำน้อยและสอดถักได้อย่างชำนาญเหลือเกิน จนยากที่มองเห็นว่าตรงไหนเป็นรอยต่อ” (ฑกมล รัตนพงศ์, 2558, น.21-22)

เจาะลึกเครื่องประดับทองคำล้ำค่า หาชมยาก จากกรุวัดราชฯ

เครื่องทองที่ขุดพบในกรุวัดราชฯ นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน แต่วันนี้ VANDA’S ชวนมาชมความงดงามตระการตากันแบบเจาะลึกกับเครื่องประดับทองคำสุดล้ำค่า โดยเฉพาะเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ (บ้างก็เรียกว่าเครื่องถนิมพิมพาภรณ์หรือเครื่องแต่งกาย) อันสะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งและความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสามารถเดินชมอย่างใกล้ชิดได้ที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีเครื่องประดับทองคำชิ้นไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูพร้อมกัน!

  • กรองศอ (เครื่องประดับคอ) ทำเป็นแผ่นทองใหญ่ขนาดเต็มอก แผ่นทองนั้นทำแยกเป็นชิ้น ๆ ต่อกันได้ ด้านหน้าส่วนล่างสุด ทำเป็นแผ่นทองใหญ่ปลายแหลมก่อรังแตนเป็นลายดอกจันใหญ่ฝังพลอยมณีสีต่าง ๆ ส่วนแผ่นทองท่อนอื่น ๆ โดยรอบก็ทำลวดลายและฝังอัญมณีมีค่าเช่นกัน
  • เข็มขัดหรือปั้นเหน่งรวมอยู่ด้วย แต่ชำรุดหักหายไปบ้างบางส่วน ทำลวดลายฝังพลอยได้อย่างละเอียดลออ ตรงกลางมักฝังหัวอัญมณีเม็ดใหญ่-ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตามลายกรุยเชิงและปลายยอด บางทีก็มีไข่มุกเม็ดเล็ก ๆ ร้อยติดไว้ (ลวดลายบางอย่างไม่เหมือนกับของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับอาหรับ)
  • ธำมรงค์ (แหวนทองคำ) เป็นเครื่องประดับที่พบมากในกรุวัดราชบูรณะ มีจำนวนกว่าร้อยวง เนื่องจากแหวนเป็นเครื่องประดับที่นิยมกันอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นแหวนทองคำประดับอัญมณี โดยการฝังอัญมณีจะใช้เทคนิคการฝังแบบหุ้มขอบ โดยทำแผ่นทองให้มีลักษณะเป็นกระเปาะขนาดพอดีกับอัญมณี แล้วใช้หนามเตยเป็นตัวยึดอัญมณีให้แน่นและมั่นคง วิธีนี้ทำให้ปกปิดตำหนิของอัญมณีได้เป็นอย่างดี และมักใช้กับอัญมณีที่มีการเจียระไนแบบหลังเบี้ย ส่วนแหวนรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ แหวนทองคำเกลี้ยง แหวนทองคำสลักลวดลาย และแหวนทองคำหัวแหวนสลักรูปสัตว์หิมพานต์ เป็นต้น 

*ค่านิยมสำหรับพระมหากษัตริย์ จะทรงพระธำมรงค์ 3 องค์ ทุกนิ้วพระหัตถ์ ส่วนการสวมแหวนของสามัญชนนิยมสวมแหวนที่นิ้วท้าย ๆ คือ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยของมือทั้งสองข้าง

  • พาหุรัดทองคำประดับแก้วสี เครื่องประดับพระพาหา (กำไลต้นแขน) มีลักษณะเป็นทองคำแผ่นกว้างทรงกระบอก ตรงกลางเป็นลายดอกจันในกรอบสี่เหลี่ยม ตกแต่งด้านในด้วยลายเม็ดไข่ปลาในกรอบวงกลม ฝังแก้วสีแบบหุ้มตะเข็บข้าง ส่วนบนและส่วนล่างเป็นรูปโค้งปลายแหลม ส่วนบนตกแต่งลายกระหนก ส่วนล่างตกแต่งด้วยลายกระจังคั่นด้วยลายกลีบบัว
  • กำไล มีกำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า เท่าที่พบมีหลายแบบและมีเป็นจำนานมาก มีทั้งชนิดทองเกลี้ยงและทองสลักลายวิจิตร กำไลบางชนิดทำแบบข้างในกลวง ซึ่งมักจะเป็นขนาดใหญ่ บางชนิดเป็นกำไลตันซึ่งจะมีขนาดเล็ก เพราะต้องใช้ทองมากนั่นเอง
  • เครื่องประดับศิราภรณ์ (เครื่องประดับศีรษะ) จากที่พบในกรุมีหลงเหลืออยู่ 2 ชิ้น ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากได้แก่ เครื่องประดับศีรษะชาย หรือเรียกว่า “จุลมงกุฎ” ใช้สวมครอบมวยผมที่อยู่ตรงกลางพระเศียรแบบยุคโบราณนิยมกัน เป็นมงกุฎทองคำสลักลวดลายประดับพลอยมณีสีต่าง ๆ 

อีกชิ้นหนึ่งเป็นเครื่องประดับศีรษะสตรี หรือเรียกว่า “พระสุวรรณมาลาทองคำถัก” ใช้ลวดทองคำเส้นเล็ก ๆ ถักสาน เป็นเครื่องประดับคล้ายหมวก และมีลวดลายเป็นดอกไม้ทั้งด้านข้างและด้านบน ด้านหลังทำยาวเว้นเข้ารูปมวยผมตรงท้ายทอย ฝีมือสานขัดประณีตบรรจงมาก ใช้สวมเป็นเครื่องประดับศีรษะและป้องกันเส้นพระเกศาสยาย

  • นอกจากเครื่องประดับทองคำที่เราหยิบยกขึ้นมาข้างต้นแล้ว ยังมีเครื่องประดับทองคำอื่น ๆ ที่สามารถแวะไปเยี่ยมชมเพิ่มเติมได้อีก อาทิ สร้อยคอ สร้อยมือ และทองพระกร เป็นต้น บอกได้เลยว่าต้องถูกใจคนที่หลงใหลในเครื่องประดับทองคำและงานหัตถศิลป์ไทยโบราณอย่างแน่นอน เครื่องทองกรุวัดราชฯ จึงนับเป็นงานประณีตศิลป์ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่พร้อมส่งต่อความล้ำค่าและความสำคัญของหัตถศิลป์ไทยสู่คนรุ่นต่อไปอย่างยั่งยืน อ้างอิง
    • กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา. [Online] Available at: https://www.finearts.go.th/storage/contents/file/8CCOseXw54e9ca9oDVWxoHq722LkSm6ZkTYfyUFy.pdf [Accessed 8 March 2023].
    • ฑกมล รัตนพงศ์. (2558). เสน่ห์งานเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ พลังของสุนทรียะทางหัตถศิลป์สู่เครื่องประดับร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา. สำนักงานศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา. กรมศิลปากร
    • วรวิทย์ สินธุรหัส. (2555). รูปแบบและลวดลายเครื่องประดับทองคำจากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า